top of page
Writer's pictureNANZY PROMRAT

เขย่าวงการสกินแคร์ด้วยความแปลก #เล่าเรื่องแบรนด์ ตอนที่ 3


เขย่าวงการแบรนด์ความงามทั่วโลก ด้วยความธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา "The Abnormal Beauty" #เล่าเรื่องแบรนด์ ตอนที่ 3


-•-•-•-•-•-•-


เปิดตัวในปี 2013 พร้อมกัน 10 แบรนด์ แต่เกือบไปไม่รอด! มาแจ้งเกิดเอาในแบรนด์ที่ 11 แบรนดอน ทรูแอกซ์ ผู้ก่อตั้ง Deciem บริษัทแม่ของแบรนด์ THE ORDINARY แบรนด์เครื่องสำอางค์ที่เขย่าวงการสกินแคร์ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณจนสั่นสะเทือนทั้งวงการ!

เค้าทำได้ยังไง? ที่ใช้ความธรรมดา สุดแสนจะเบสิค แต่พรีเซ้นออกมาด้วยคอนเซ็ปท์เก๋ๆ "The Abnormal Beauty Company" หรือบริษัทผลิตภัณฑ์ความงามที่ไม่ธรรมดา (จะแปลว่าไม่ปกติก็ได้นะคะ)

กลยุทธอะไรที่แบรนด์นี้ใช้ แล้วทั้งเขย่าวงการสกินแคร์ แถมยังเอาชนะใจสาวๆทั่วโลกได้ วันนี้ #เล่าเรื่องแบรนด์ กับพี่แนนซี่ จะมาเล่าให้ทุกคนฟังค่ะ


-•-•-•-•-•-•-


ภายในเวลาเพียง 7 ปี ที่ Deciem แบรนด์สัญชาติแคนาดา ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ของผลิตภัณฑ์ดูแลผิวชื่อดัง The Ordinary ได้ถือกำเนิดขึ้น พร้อมทั้งเอาชนะแบรนด์น้อยใหญ่ ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือดในตลาดแห่งความสวยความงามนี้

Deciem เป็นภาษาละติน ซึ่งมีความหมายว่า 10 ถูกก่อตั้งโดยหนุ่มนักคอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ ที่เกิดความคิดสุดแปลกและแหวกแนว ระหว่างที่เค้าพัฒนาซอฟแวร์สำหรับห้องปฎิบัติการดูแลผิว เค้าสังเกตุเห็นถึงความแตกต่าง อย่างมากมายของราคาต้นทุนวัตถุดิบ ที่ใช้ในการผลิตเครื่องสำอางค์ และผลิตภันฑ์ดูแลผิว ที่พอถูกแปลรูปออกมาเป็นผลิตภัณฑ์แบรนด์ต่างๆ ถูกบรรจุอยู่ในแพคเกจจิ้งสวยหรู หรือมีพรีเซนเตอร์ชื่อดังมาโฆษณาให้ ก็ทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ที่มีส่วนประกอบ ราคาไม่เท่าไหร่ เพิ่มราคาไปอีกหลายเท่าตัว หรือนี่มันจะเป็นมายา เป็นกลยุทธทางการตลาด ที่นักการตลาดหัวใสทั้งหลายใช้ ในการเพิ่มมูลค่าสินค้า???


-•-•-•-•-•-•-


แบรนดอน เห็นช่องว่างตรงจุดนี้ ประกอบกับที่เค้าก็พอมีคอนแทคกับบริษัทเคมี สามารถสั่งซื้อสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบต่างๆในสกินแคร์ ได้โดยตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เค้าจึงตัดสินใจเปิดห้องแลปที่บ้านของเค้าเอง


-•-•-•-•-•-•-


สิ่งหนึ่งที่ยิ่งตอกย้ำ ว่าแบรนด์สินค้าของ Deciem คือ The Abnormal Beauty ที่แท้จริงนั่นก็คือ...

เค้าค้นพบว่า สินค้าความงาม ดูแลผิวที่ขายๆกันทั่วไป ต่อให้แพงขวดละเป็นหลายพัน หลายหมื่นบาท แต่กลับไม่มีใครบอก “สัดส่วน ของส่วนประกอบ” ที่แท้จริง ที่เที่ยงตรง เลยสักแบรนด์


—— คุณต้องเสียเงินซื้อสกินแคร์ราคาแพงลิบลิ่ว ที่โฆษณาว่ามีสารนั้น สารนี้ มีประโยชน์อยู่เต็มไปหมด แต่แท้ที่จริงแล้ว มันมีจริงๆตามที่แบรนด์ดังเหล่านั้น เคลมไว้ จริงไหม?


จากคีย์เวิร์ดตรงนี้ ในปี 2016 แบรนด์ THE ORDINARY ซึ่งเป็นแบรนด์ตัวที่ 11 ของบริษัท Deciem จึงถือกำเนิดขึ้น พร้อมทั้งเข้ามาช่วยกอบกู้สถานการณ์ของบริษัทที่กำลังแย่ในตอนนั้นให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

ด้วยคอนเซ็ปท์จองแบรนด์ที่ชัดเจนนั้นก็คือ...

สินค้าต้องโปร่งใส ลูกค้าต้องรับรู้ ว่ามีส่วนผสมอะไร เท่าไหร่ ในสินค้าที่เค้าตัดสินใจซื้อไป

รูปแบบเน้นความเรียบง่ายและมินิมอล (ทั้งในเรื่องของภาพลักษณ์ของแบรนด์ แพคเกจจิ้ง และกราฟิกต่างๆ) เพราะคุณค่าที่แท้จริง อยู่ในขวดต่างหาก

ไม่ใช่แพคเกจจิ้งหรูหราเพียงเท่านั้น สีของแพคเกจจิ้งของแบรนด์จึงเน้น เพียง 3 สีเท่านั้น คือ ขาว เทา และดำ

ราคาต้องจับต้องได้ สินค้าที่ดี มีส่วนประกอบดีๆแบบเต็มๆ ราคาไม่จำเป็นต้องแพง แบบเกินเอื้อมเสมอไป

และด้วยในเรื่องของราคานี่ล่ะ ที่ แบรนดอน ถึงขั้นเคยเปรียบเทียบเอาไว้ว่า


— นี่มันการดูแลผิวนะ ไม่ใช่กระเป๋า Hermes ราคามันไม่จำเป็นต้องแพงขนาดนั้น

(อันนี้พี่แนนซี่เห็นด้วยมากๆเลยค่ะ ราคาพวกสินค้าความงามเดี๋ยวนี้ก็สูงเกิ้นนน บางแบรนด์ขวดนิดเดียวราคาปาไปเป็นหมื่น)


-•-•-•-•-•-•-


และด้วยคอนเซ็ปท์ข้างต้นนี่เอง ที่ทำให้ แบรนด์ The Ordinary เขย่าวงการสกินแคร์ครั้งยิ่งใหญ่ แถมยังทำให้กลุ่มลูกค้าชาว Gen มิลเลนเนียลส์ คลั่งไคล้ในแบรนด์นี้เป็นอย่างมาก

การเปิดตัวสินค้าผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ เรียกว่าราคาดีต่อใจกับนักช้อปมากๆ


— ยกตัวอย่างเช่นสินค้าตัวเด่นของแบรนด์ “เซรั่มกรดไฮยาลูโรนิก” ที่แบรนด์อื่นๆ ขายกัน 80-90 ดอลลาร์ แต่แบรนด์ของเค้า เลือกที่จะขายเพียง 7 ดอลลาร์เท่านั้น

หรือ “เซรั่มเรตินอยด์” ที่ขายเพียงราคา 6 ดอลลาร์ เห็นราคาแล้วแอบทึ่ง เพราะเค้าทำให้สินค้าราคาไม่แพง หลักแค่ไม่ถึง 10 ดอล (หลักร้อยบาทบ้านเรา) มีคุณภาพเทียบเท่ากับสินค้าราคาหลายสิบดอลลาร์ หรือหลายพัน หลายหมื่นบาทได้


-•-•-•-•-•-•-


ตัวแพคเกจจิ้งของแบรนด์ เน้นการใส่ชื่อ ใส่กราฟิกของส่วนผสมตัวใหญ่ๆ เรียกว่าโปร่งใส เเละเห็นชัดๆกันไปเลย ว่าผลิตภัณฑ์นี้มีส่วนผสมอะไรเท่าไหร่

อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่ต้องมากั๊กให้งงกัน แถมชื่อผลิตภัณฑ์ก็ใช้ชื่อสารเคมีที่อยู่ในขวดนั่นแหละ มาตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ อารมณ์ตอนที่ซื้อและใช้สินค้า จึงไม่ต่างจากการที่คุณได้รู้สึกว่าสินค้าได้ถูกส่งตรง จากห้องแลป มาถึงมือคุณโดยตรง

“ซึ่งเอาจริงๆตรงจุดนี้ แบรนด์จับจุด โดนใจ กลุ่มลูกค้า Gen มิลเลนเนียลส์ได้ดีมาก”

เพราะคน Gen นี้ จะกิน จะใช้ อะไร มักจะรอบครอบ และอยากรู้เสมอ ว่าสิ่งที่เค้าใช้นั้น ปลอดภัยจริงๆ แถมคนกลุ่มนี้ยังใส่ใจสุขภาพกันมากๆซะด้วยค่ะ


-•-•-•-•-•-•-


ความนิยมของ Deciem และ แบรนด์ The Ordinary จึงโด่งดังเป็นพลุแตก และเขย่าวงการสกินแคร์มากๆ สื่อให้เห็นว่า สินค้าราคาแพงๆใช่ว่าจะดีเสมอไป และสินค้าราคาถูก จับต้องได้ ก็สามารถผลิต ให้มีคุณภาพได้เช่นเดียวกัน

แบรนดอนถือคติในการสร้างแบรนด์ที่ว่า...

“ยิ่งเค้าทำสินค้าได้ดี และมีการบอกปากต่อปากเท่าไหร่ ด้วยความสื่อสัตย์ต่อลูกค้านี่ล่ะ ที่จะยิ่งทำให้แบรนด์เป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น”


-•-•-•-•-•-•-


—เลือกทำการตลาดแสนเรียบง่าย แต่ถูกที่ ถูกจุด โดนใจ กลุ่ทเป้าหมาย

นอกเหนือจากการเปิดร้านสาขาทั้งที่แคนาดา และนิวยอร์ค แบรนด์ต่างๆของ Deceim ยังเลือกจะใช้การตลาดออนไลน์ ในการส่งแบรนด์ให้ดังแบบพลุแตกอีกด้วย

ลองไปหาคลิปต่างๆที่บรรดาหนุ่มๆสาวๆน้อยใหญ่ บรรดาอินฟลูเอนเซอร์ทั่วโลก แชร์ทั้งบน Tiktok Instagram และยูทูป กันดูนะคะ

คุณจะเห็นถึงพลังของโซเชียลมีเดียที่ส่งให้ แบรนด์ของ Deceim เป็นที่ชื่นชอบของนักช้อป ที่ชื่นชอบความแปลกใหม่ ความโปร่งใสของแบรนด์ แถมราคาที่จับต้องได้ แบบไม่มีข้อกังขา


-•-•-•-•-•-•-


ถึงแม้แบรนด์จะไปได้สวย และเป็นที่ชื่นชอบ ของกลุ่มนักช้อปรักผิว แต่เรื่องราวของเจ้าของแบรนด์ กลับดราม่าสวนทางกับการเติบโตของแบรนด์ แบบคนละทิศ คนละทางเลยทีเดียว

แบรนดอน ทรูแอกซ์ เสียชีวิตในวัย 40 ปี ในปี 2019 (ไม่ระบุสาเหตุของการเสียชีวิต) ก่อนเกิดเรื่องราวน่าสลดใจ มีข่าวระแคะระคายมาว่า แบรนดอนถูกฟ้องร้องโดยบริษัท Estée Lauder ซึ่งมีหุ้นอยู่ในบริษัท Deciem ที่ต้องการให้นิโคลา เพื่อนสนิทจองแบรนดอน และยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ขึ้นมานั่งแท่นบริหารงานแทน แบรนดอน ซึ่งตอนนั้นคัวแบรนดอนเอง แสดงอาการไม่ค่อยปกติ ทางความคิดและอารมณ์สักเท่าไหร่

เจ้าตัวเองออกจะเป็นคนเหวี่ยงๆอยู่แล้ว อารมณ์ขึ้นๆลงๆ ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยจะได้ เคยไล่ทั้งพนักงาน และหุ้นส่วน รวมทั้งนิโคลาออกจากบริษัทก็ทำมาแล้ว แถมยังใช้แอคเคาท์ของบริษัท โพสต์เรื่องส่วนตัวต่างๆลงบนอินสตาแกรม ทำเอาหุ้นส่วนอย่าง Estée Launder ไม่พอใจเอามากๆ จนถึงขั้นต้องมีการฟ้องร้องกันใหญ่โต

หนักสุดก็คือ การโพสต์ประมาณเดือนตุลาคม ปี 2018 ว่าจะเลิกทำบริษัท Deceim ยกเลิกไลน์การผลิตทั้งหมด เล่นเอาสาวนักช้อปต้องแย่งกันตุนของมากมาย เพราะกลัวว่าจะไม่มีสกินแคร์ราคาดี๊ดีแบบนี้ให้ใช้อีกแล้ว

ไม่มีใครรู้ได้ว่า การเสียชีวิตของแบรนดดอน มีสาเหตุมาจากอะไร แต่มันก็เป็นเรื่องที่น่าเสียใจ ที่วงการความสวยความงาม ต้องสูญเสีย นักปั้นแบรนด์ ที่มีแนวคิดแปลก และแหวกแนว กล้าทำอะไรนอกกรอบ อย่าง แบรนดอน ทรูแอกซ์ ไปอย่างไม่มีวันกลับ

วงการนี้ต้องขอบคุณ แบรนดอนจริงๆค่ะ ไม่อย่างงั้นพวกเราจะไม่มีทางได้ลองใช้สกินแคร์ ที่กล้าแหกกฎสังคม กฎวงการความงาม อย่างที่แบรนดอนทำเลย


-•-•-•-•-•-•-


สรุปกันหน่อยนะ เล่ามาซะยาว

— คีย์ดีๆ ที่พี่แนนซี่เห็นได้จากแบรนด์นี้ ที่ทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จ โกยยอดขายถล่มทลายและครองใจหนุ่มสาว จากทั่วโลกอย่างมากมาย

แบรนด์มีความโปร่งใส Transparency จริงใจกับลูกค้า โดยการบอกส่วนผสมที่มีในผลิตภัณฑ์ให้เห็นแบบ เต็มๆไปเลย ไม่มีกั๊ก ไม่มีหมกเม็ด

แบรนด์มีกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน เน้นจับกลุ่ม Gen มิลเลนเนียลส์ ที่รักสุขภาพ ชอบความมินิมอล ทั้งสินค้า แพคเกจจิ้ง และการนำเสนอของแบรนด์ จึงนำเสนอได้ตอบโจทย์โดนใจลูกค้ากลุ่มนี้มากๆ

เลือกทำการตลาดได้ถูกกลุ่มเป้าหมาย นอกจากร้านออฟไลน์ ทางแบรนด์ยังเลือกใช้ช่องทาง โซเชียลมีเดียในการทำการตลาด และกลุ่มเป้าหมาย ของแบรนด์ก็อยู่บนโลกโซเชียลมีเดียกันเต็มไปหมดด้วยสิ เรียกว่ายิงปืนได้ถูกเป้าสุดๆไปเลยค่า (ลูกค้าอยู่ที่ไหน จงยิงไปให้โดนเค้า)

ราคาขายที่สมเหตุสมผล ด้วยมันคือผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเนาะ ไม่ใช่กระเป๋า Hermes เพราะฉะนั้น ของดีจึงไม่จำเป็นต้องราคาโหดเสมอไป

และท้ายที่สุดนั่นก็คือ ความกล้าคิด กล้าแปลก กล้าที่จะแตกต่าง ตอบโจทย์ปัญหา ของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจริงๆ อะไรคือจุดเจ็บ Pain Point ที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ แล้วยังไม่มีใครทำ ลองกล้าที่จะทำอะไรสักสิ่ง เพื่อตอบความต้องการของกลุ่มลูกค้าของคุณ

คีย์ต่างๆเหล่านี้นี่ล่ะค่ะ ที่ยิ่งทำให้ใครก็ตาม ที่เคยใช้สกินแคร์ของ Deciem ต่างเทใจ และพร้อมเทเงินในกระเป๋า พร้อมสมัครเป็นแฟนคลับ ของแบรนด์สินค้าสุด Abnormal แบรนด์นี้ได้อย่างไม่ยากเลย


-•-•-•-•-•-•--•-•-•-•-•-•--•-•-•-•-•-•-


อย่าลืมติดตามทุกๆช่องทางของ THE BRANDING ไว้ เพื่อไม่พลาด “เล่าเรื่องแบรนด์” กับพี่แนนซี่ นะคะ

Follow me at : ติดตามกันได้ที่ Facebook https://www.facebook.com/thebranding55/ Youtube Channel THE BRANDING ACADEMY Instagram www.instagram.com/thebranding_academy Website www.thebranding-academy.com

Credit Picture : newyorker.com



584 views0 comments

Kommentare


Die Kommentarfunktion wurde abgeschaltet.
bottom of page